Powered By Blogger

30 สิงหาคม 2555

ประกวดเรื่องสั้นเฉลิมพระเกียรติ “วีรบุรุษแห่งแผ่นดิน”(รายงานโดย : นฤธร 12B)

UploadImage
สมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย,มูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์ ,สำนักพิมพ์กรีน-ปัญญาญาณ และ บริษัท ท็อปโมสต์ ออโต้ อิมพอร์ต จำกัด ร่วมกับ องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน จัดโครงการ “TOPMOST-ปลูกปัญญาเฉลิมพระเกียรติ” ภายใต้แนวคิด “ปลูกปัญญาเยาวชนให้สำนึกรักบ้านเกิด” ด้วยการส่งมอบหนังสือนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง “มหาราช ๒ แผ่นดิน” สู่ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”, ห้องสมุดประชาชนประจำจังหวัด และห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ ดังนี้

ห้องสมุดประชาชนประจำจังหวัด ๗๗ จังหวัดๆ ละ ๙ แห่ง ๆ ละ เล่ม  จำนวน ๖, ๒๓๗ เล่ม

ห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน  ๓, ๐๒๔ เล่ม
     

ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี”๕๗ จังหวัด ๘๒ แห่ง ๆละ ๙ เล่มจำนวน ๗๓๘ เล่ม รวมทั้งสิ้น  ๙, ๙๙๙ เล่ม

หลังจากมอบหนังสือนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่อง“มหาราช ๒ แผ่นดิน”  แล้ว จัดให้มีการประกวดเรื่องสั้นเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อดีตกษัตริย์สยามสายเลือดจีน ผู้กอบกู้เอกราชด้วยความรักความเสียสละและหวงแหนแผ่นดิน  โดยกำหนดให้ผู้ส่งผลงานเข้าประกวดนำ นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “มหาราช ๒ แผ่นดิน” เป็นต้นแบบในการเขียนเรื่องสั้นเพื่อโน้มนำผู้อ่านร่วมรำลึกนึกถึงวีรกษัตริย์สยามประเทศ พร้อมกันนี้ได้ตั้งคณะกรรมการตัดสินหาผู้รับรางวัลตามประเภทที่กำหนดโดยจะมีพิธีมอบรางวัลในวันที่ ๖ พฤศจิกายน  ๒๕๕๕ (วันครบรอบ ๒๔๕ ปีแห่งการประกาศเอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลังทรงชนะทัพพม่าในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๓๑๐) 

เนื้อหาสาระ
ให้เป็นการประกวดในหัวข้อ “วีรบุรุษแห่งแผ่นดิน” มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ ชีวิต ความคิด และวัฒนธรรมของประชาชนกลุ่มต่างๆ (ชาติพันธุ์ ศาสนา สถานภาพทางสังคม) ผูกเนื้อเรื่องไปถึงความเสียสละของวีรบุรุษในพื้นถิ่น หรือนำเนื้อเรื่องไปสู่ความเสียสละของวีรบุรุษในอดีตเป็นเชิงเปรียบเทียบ  หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือเป็นภาพรวม  โดยให้ตั้งชื่อเรื่องใหม่ของตนเอง 

คุณสมบัติงานเขียน
๑. ให้เขียนเป็นเรื่องสั้น (Short story) กำหนดความยาวดังนี้
ประเภทประชาชนทั่วไป   -ความยาวไม่เกิน ๑๐ หน้า
ประเภทอุดมศึกษา            -ความยาวไม่เกิน  ๘  หน้า
ประเภทมัธยมศึกษา          -ความยาวไม่เกิน  ๔ หน้า

๒. ให้เขียนเป็นภาษาไทย

๓. สร้างสรรค์ขึ้นเอง   ไม่แปล  หรือแปลงจากงานเขียนของผู้อื่น   กรณีที่มีการลอกเลียนผลงานของผู้อื่น  คณะกรรมการผู้จัดประกวดฯ จะดำเนินการตามกฎหมายลิขสิทธิ์ทันที

๔. เป็นงานที่เขียนขึ้นใหม่ ไม่เคยตีพิมพ์หรือรวมเล่มมาก่อน และระหว่างที่ส่งเข้าประกวดห้ามส่งให้นิตยสาร หนังสือพิมพ์หรือสำนักพิมพ์เพื่อการตีพิมพ์

 ประเภทการประกวดและเงินรางวัล,ทุนการศึกษาแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑.ประเภทประชาชนทั่วไป
รางวัลชนะเลิศ                                                       ๒๐,๐๐๐.-  บาท
รางวัลรองชนะเลิศ  อันดับหนึ่ง                             ๑๕,๐๐๐.-  บาท
รางวัลรองชนะเลิศ  อันดับสอง                              ๑๒,๐๐๐.-  บาท

๒.ประเภทอุดมศึกษา
รางวัลชนะเลิศ (ทุนการศึกษา)                                 ๑๕,๐๐๐.- บาท
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่ง (ทุนการศึกษา)           ๑๐,๐๐๐.-บาท
รางวัลรองชนะเลิศ  อันดับสอง  (ทุนการศึกษา)            ๘,๐๐๐.-บาท

  ๓.ประเภทมัธยมศึกษา
รางวัลชนะเลิศ (ทุนการศึกษา)                                     ๑๒,๐๐๐.- บาท
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่ง  (ทุนการศึกษา)              ๘,๐๐๐.-บาท
รางวัลรองชนะเลิศ  อันดับสอง  (ทุนการศึกษา)              ๖,๐๐๐.-บาท

            หมายเหตุ. ผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทได้ร่วมเดินทางไปสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง  ในระหว่างวันที่ ๒๗-๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ (วันที่ ๒๘ ธันวาคม เป็นวันปราบดาภิเษกและวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) และร่วมเดินทางไปสักการะสุสานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่เมืองเถ่งไฮ้ ประเทศจีน ระหว่างวันที่ ๔-๙ เมษายน ๒๕๕๖ (ครบรอบ ๒๓๑ ปีแห่งวันวันสวรรคต ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๓๒๕)

           คุณสมบัติผู้ส่งผลงานประกวด
  ๑. เป็นผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นถิ่นที่มีการสดุดีวีรกรรมวีรบุรุษ-วีรสตรีในพื้นถิ่นนั้น หรือเป็นผู้สืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์แล้วนำมาเขียนอ้างอิงโดยผู้ส่งผลงานต้องแสดงหลักฐานเป็น สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรนักเรียน นักศึกษา หรือหลักฐานการประกอบอาชีพ
๒. ผู้ส่งผลงานยังมีชีวิตอยู่ในวันส่งผลงานเข้าพิจารณารับรางวัล   

 เงื่อนไขการส่งผลงานประกวด
๑.ให้พิมพ์ หรือเขียนด้วยลายมือตัวบรรจงหน้าเดียว ส่งประกวดจำนวน ๑ ชุด   และผู้ส่งผลงานต้องทำสำเนาเก็บไว้เอง คณะกรรมการผู้จัดประกวดฯไม่ส่งต้นฉบับคืน

๒. ใส่ชื่อจริง นามสกุลพร้อมที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และเบอร์โทรศัพท์(ถ้ามี) ไว้ในต้นฉบับด้วย

๓. ส่งผลงานทาง Email ที่  theherothailand@gmail.comหรือส่งจดหมายลงทะเบียนทางไปรษณีย์ ถึง

                   ศูนย์ประสานงานโครงการ“TOPMOST-ปลูกปัญญาเฉลิมพระเกียรติ”
                   ๕๐๕ ถนนพระราม ๒แสมดำ บางขุนเทียน  กรุงเทพฯ รหัสไปรษณีย์  ๑๐๑๕๐
                ประสานงานโปรดติดต่อ นายวรุตม์ นกยูงทอง ฝ่ายบริหารโครงการฯ  โทร.๐๘-๔๘๙๙-๐๙๓๙

              ระยะเวลาส่งผลงานและการประกาศผล
สิ้นสุดการรับเรื่องสั้นเฉลิมพระเกียรติที่ส่งเข้าประกวดภายในวันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม  ๒๕๕๕ 

ในกรณีส่งทางไปรษณีย์ จะดูตราประทับวันที่ส่ง
ประกาศผลการตัดสิน        ภายในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕
กำหนดจัดงานรับรางวัล     จะประกาศให้ทราบภายหลัง

 ลิขสิทธิ์และการเผยแพร่ผลงาน
ผลงานที่ได้รับรางวัล  คณะกรรมการฯ ขอลิขสิทธิ์จัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกภายในกำหนดเวลา  ๒ ปี หลังจากนั้นลิขสิทธิ์วรรณกรรมจึงตกเป็นของผู้ส่งผลงาน
(การจัดพิมพ์เผยแพร่จะคัดเลือกผลงานของผู้ได้รับรางวัลตามลำดับผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ๑-๒ทุกประเภท รวม ๙ เรื่อง)

  คณะกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
๑.  พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๒.พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
๓. หม่อมหลวงอนุพร เกษมสันต์ สำนักราชเลขาธิการ, รองเลขาธิการมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
๔. พลโทธนยศ ศิริกุล
 หัวหน้าสำนักงานโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
๕.  พลโท วุฒิพงศ์ หอมวิเศษวงศา   ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
๖. พลโทรวิช นกยูงทอง  อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก
๗. พล.ร.ต.พิทักษ์ พิบูลย์ทิพย์    เจ้ากรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารเรือ
๘.พล.ต.ต.ดร.เสวก ปิ่นสินชัย  โปรโมเตอร์ของเวทีราชดำเนิน "ศึกอัศวินดำ"
๙. นายจาฤก กัลย์จาฤก ประธานสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ,ประธานกรรมการบริหารบริษัท กันตนา กรุ๊ป
๑๐. นายธีระพงษ์ โสดาศรี   อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
๑๑. นางสุรีรัตน์ วงศ์เสงี่ยม   รองอธิบดีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
๑๒.นายศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ  กรรมการผู้จัดการบริษัท ทีจีไอเอฟ คอร์ปปอเรชั่น จำกัด
๑๓. นายวัฒนา โมสิมาศ   กรรมการผู้จัดการ บริษัท นาคราชปิโตรเลี่ยม จำกัด
๑๔. อาจารย์นิพนธ์ ลิ้มแหลมทอง  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน)
๑๕.อาจารย์พิมพลักษณ์ บุญลือ  ผู้แทนจากกองทุนหมวดติ้ ร.ต.ต.กฤตติกุล บุญลือ
๑๖.นายสุวิช สุทธิประภา  รายการคุยโขมงบ่ายสามโมง สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมตัดสินมีทั้งสิ้น ๑๗ คน ประกอบด้วย
ผู้ทรงคุณวุฒิทำงานด้านความมั่นคง ๑ คน ได้แก่
1. พลโท ธนยศ  ศิริกุล   ประธานโครงการร้อยใจไทย ,หัวหน้าสำนักงานศูนย์ประสานงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริ ที่ปรึกษากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคม ๒ คน ได้แก่
๑.นายปณิธาน ณ นคร       เลขาธิการมูลนิธิสกุล ณ นคร และสายสัมพันธ์
๒.นายวรุตม์   นกยูงทอง   ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์ ๙ ในดวงใจ ผู้สร้างสรรค์บทภาพยนตร์เทิดพระเกียรติเรื่อง “ปิดทองหลังพระ”    ตอน ความฝันอันสูงสุด, ผู้เขียน นวนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง มหาราช ๒ แผ่นดิน

คณะกรรมการจากสื่อสารมวลชน ๑๔ คน ได้แก่

๑. นายธีระพงษ์ โสดาศรี   อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการ
๒.นางสุรีรัตน์ วงศ์เสงี่ยม  รองอธิบดีกรมศิลปากรรองประธาน
๓.ผศ.นุจรินทร์ ศศิพิบูลย์ อดีตคณะบดีการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม  รองประธาน
๔. นายศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ กรรมการผู้จัดการบริษัท ทีจีไอเอฟ คอร์ปปอเรชั่น จำกัด   รองประธาน
๕.นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สำนักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ จำกัดรองประธาน
๖. นายสุวิช สุทธิประภา รายการคุยโขมงบ่ายสามโมง สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวีกรรมการ
๗. นายศักดิ์ศรี บุญรังศรี  บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ จำกัด กรรมการ
๘. นางไญยิกา เมืองจำนงค์  บรรณาธิการสำนักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ จำกัดกรรมการ
๙.นายพันยศ ชินบัวสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ร.ศ.๑๗๕ จำกัด กรรมการ
๑๐.นายเอกภพ พงษ์สุพัฒน์  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กรรมการ
๑๑.นายศิโรช มิ่งขวัญ  นายกสมาคมนักข่าวอาชญากรรมแห่งประเทศไทย  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กรรมการ
๑๒.นายนภดล ศรีทวีกาศ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก  กรรมการ
๑๓.นายวิสูตร ยิ้มละมัย  หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ กรรมการ
๑๔.นางสาววลัย พละสวัสดิ์ปฏิคมชมรมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย, นักเขียนอิสระ กรรมการ/เลขานุการ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น