Powered By Blogger

ข่าวการศึกษา


เผยโฉม รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2554  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีใหม่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 5 สิงหาคม พุทธศักราช 2554 แล้ว นั้นบัดนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว
โดยในรัฐบาล นายกหญิง คนแรกของประเทศไทย ได้แต่ตั้งให้
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุลดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
นางบุญรื่น ศรีธเรศ ดำรงตำแหน่ง รมช.ศธ.
 และนายสุรพงษ์  อึ้งอัมพรวิไล ดำรงตำแหน่ง รมช.ศธ. 



ในฐานะคนในแวดวงการศึกษาเรามาทำความรู้จักกับนายวรวัจน์   เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  และผู้ช่วยคนใหม่กันดูนะค่ะ

 UploadImage
นายวรวัจน์   เอื้ออภิญญกุล
ประวัติส่วนตัว     
เกิดวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2502  มีภูมิลำเนาเป็นคนจังหวัดแพร่

ประวัติการศึกษา
ปริญญาโท :  รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ปริญญาตรี : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประวัติการทำงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (9 ส.ค.2554 - ปัจจุบัน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (24 ก.ย.2551 - 19 ธ.ค.2551)
ประธานคณะอนุกรรมการธิการพิจารณางบประมาณด้านการฝึกอบรมสัมมนาประชาสัมพันธ์,
ค่าจ้างที่ปรึกษาการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
ต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ของสภาผู้แทนราษฎร
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม
เลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย


UploadImage                 UploadImage
นางบุญรื่น ศรีธเรศ ดำรงตำแหน่ง รมช.ศธ.      นายสุรพงษ์  อึ้งอัมพรวิไล ดำรงตำแหน่ง รมช.ศธ. 

เราคงต้องฝากความหวัง การศึกษาไทยไว้กับรัฐมนตรีคนใหม่ กับผู้ช่วยทั้งสอง และคงต้องติดตามความคืบหน้า นโยบายด้านการศึกษาจากรัฐบาลชุดนี้  กันต่อไป  ทิศทางอนาคตการศึกษาไทย จะเป็นอย่างไร ศูนย์ข่าวการศึกษาไทย จะติดตามและนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องนะค่ะ
 






เชิญร่วมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ปี 54 ที่บูธอพวช.
มาขี่ไม้กวาดอย่างแฮรี่ พอตเตอร์ ที่บูธอพวช.
ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ปี 54

UploadImage

         องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ชวนน้องๆ มาเป็นสมาชิกแฮรี่ พอตเตอร์ ขี่ไม้กวาดเหินฟ้าท่องโลกวิทยาศาสตร์ที่บูธ นิทรรศการภาพสะท้อน (Reflection Exhibition) นิทรรศการที่ใช้ กระจก เป็นเนื้อหาและเครื่องมือหลัก ในการนำเสนอในมุกของภาพสะท้อนที่ปรากฎจากกระจกในรูปแบบที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีความรู้เสริมอื่นๆ ให้น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่อง ได้แก่ หลักการพื้นฐานของแสง การสะท้อนของภาพและแสดง ประวัติ ขั้นตอนการผลิต และพัฒนาการของกระจกที่เราใช้ส่องอยู่ทุกวัน และมาดูกล้องไคโรสโคปยักษ์ที่ใหญ่กว่าขนาดปกติ ถึง 42 เท่า พร้อมกิจกรรมต่างๆ กันที่บูธนิทรรศการภาพสะท้อน (ReflectionExhibition) ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2554 ตั้งแต่วันนี้ ถึง 21 สิงหาคม 2554 (ยกเว้น 9 สิงหาคม 2554) ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมไบเทค บางนา

         นิทรรศการภาพสะท้อน ทำให้น้องๆ ได้รู้จักและเข้าใจว่าภาพที่เห็นเป็นภาพลวงตาหรือวิทยาศาสตร์ และทำไมเวลาส่องกระจกจึงเห็นภาพตัวเราอยู่ภายในนั้น หรือทำไมภาพตัวเราที่เห็นในกระจกจึงมีรูปร่างแปลกๆ และขนาดแตกต่างไป อพวช. จึงนำความรู้เรื่องของแสง และการสะท้อนแสงมาให้น้องๆ ได้เรียนรู้สัมผัส ลงมือปฎิบัติจริง และผสมผสานความสนุกสนาน  ผ่านการแสดงและกิจกรรมภายในนิทรรศการหลัก ๆ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนแรก แนะนำความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแสง การสะท้อนของแสงที่อธิบายว่าเราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร และจุดกำเนิดกับการค้นพบกระจกครั้งแรกของโลกโดยบังเอิญโดยนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ส่วนที่สอง ปรากฎการณ์จากแสงสะท้อน ผ่านอุปกรณ์การทดลองต่างๆ อาทิ กระจกเงาสร้างภาพที่เกิดจาการสะท้อนกลับไปมาของกระจกเงาสองบาน, กล้องสลับลายไคโรสโคปขนาดยักษ์ ที่จะสะท้อนเงาของน้องๆ กลับไปมาแบบไม่รู้จบและเห็นเป็นหลายๆ ภาพ, แท่นกระจกไม่รู้จบ เหมือนกระจกเวทย์มนต์ที่ทำให้เกิดภาพสะท้อนที่ให้ความรู้สึกว่ากระจกมีความลึกจนมองไม่เห็นปลายทาง, ส่วนน้องๆ ที่อยากลองเป็นพ่อมดแม่มดขี่ไม้กวาดบินได้แบบแฮรี่ พอตเตอร์ ต้องไม่พลาดกิจกรรม ไม้กวาดเหินเวหา โดยนั่งบนไม้กวาดที่ตั้งอยู่บนแท่นกระจกเงา แล้วยกขาด้านหน้ากระจกให้ลอยขึ้นพร้อมขยับไปมา กระจกเงาจะสะท้อนภาพกลับซ้ายเป็นขวา เงาของร่างกายอีกซีกหนึ่งที่อยู่ด้านหน้าจะถูกสะท้อนภาพด้วยกระจกที่ตั้งฉากอีกอัน ภาพที่ปรากฎจึงเหมือนกับว่าน้องๆ กำลังล่องลอยอยู่บนอากาศด้วยไม้กวาดเหิรเวหา, อีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของภาพสะท้อนกับกิจกรรมที่ออกแนวสยองขวัญ คือ ศีรษะมายา ที่จะทำให้น้องๆ เห็นภาพของห้องสี่เหลี่ยมและมีเฉพาะศีรษะของเราลอยอยู่ในห้องนั้น ซึ่งเกิดจากกระจกเงาสองบานที่วางตั้งฉากสะท้อนฉากผนังเท่าของจริงแต่จะกลับซ้ายเป็นขวาซึ่งน่ามาทดลองด้วยตนเอง

         และส่วนที่สาม ความรู้เรื่องการใช้ประโยชน์จากแสงสะท้อน ไม่ว่าจะเป็นภาพสามมิติ กระจกส่องผู้ต้องสงสัย เลนส์ขยาย ภาพลวงตา ใยแก้วนำแสง นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงแสงสะท้อนจากกระจกธรรมชาติที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต อาทิ แสงสีรุ้งที่สะท้อนจากปีกแมลงทับที่มีพื้นผิวไม่เรียบ และมีสันนูนหรือหลุมบนผิวปีก ทำให้เกิดมุมตกกระทบของแสงที่แตกต่างกันสะท้อนออกมาเป็นสีที่หลากหลาย, แสงสีแวววาวจากเปลือกหอยมุก, ปลากัดไทยที่ได้ชื่อว่านักสู้สีรุ้ง ที่จะมีสีสันหลากหลายแตกต่างกันไปบนเกล็ดตัวปลาในขณะที่กำลังพองครีบเพื่อทำการข่มขู่คู่กัด และสายรุ้งลวงโลกของแสงที่สะท้อนจากเกล็ดบนตัวงูแสงอาทิตย์ เป็นต้น

         เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของความมหัศจรรย์ของภาพสะท้อน และยังมีอีกมากมายที่รอให้น้องๆ มาร่วมสนุกและพิสูจน์ด้วยตัวเองในนิทรรศการภาพสะท้อน ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2554 ที่เปิดให้เยาวชน ครอบครัว และประชาชนทั่วไป สามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 6 - 21 สิงหาคม 2554 เวลา 09.00 - 20.00 น. (ยกเว้นวันที่ 9 สิงหาคม) ที่ไบเทค บางนา  และพบกับ 3 พรีเซนเตอร์ของงาน อ๋อม อรรคพันธ์, เก้า จิรายุ และญาญ่า อุรัสยา ได้ภายในงานติดตามข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดงานได้ที่ www.nsm.or.th/nst2011


สอบถามข้อมูล   
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โทร  0-2577-9960
ติดต่อ ฝ่ายประชาสัมพันธ์งาน  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ         
คุณนภัทร (แอน) 085-512-0589 / คุณสุตานันท์ (กอล์ฟ) 089-499-5531 / คุณฐาปนี (เก๋ง) 085-772