สวัสดีค่ะ แนะนำตัวก่อนนะคะ ชื่อ อ้อย^^ น้องๆเรียกพี่อ้อยก็ได้
ที่เขียนบทความเพราะโดนเว็บมาสเตอร์โหดบังคับ TOT /me ถูกตบหัวจากมือมืด
ล้อเล่นก๊าบบบบบ>/\\<" พี่ก็จะมาแนะนำเรื่องการเตรียมตัวสอบของปี55 นะคะ
โดยเน้นหนักที่คณะแพทย์นะ แล้วก็ของภาคเหนือจะเยอะหน่อย เพราะพี่ไม่ค่อยรู้เรื่องคณะ+ภาคอื่นเท่าไร=_=
เดี๋ยวเล่าความเป็นมาของตัวเองก่อน
พี่อยู่จังหวัดเชียงราย โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม(โปรโมตโรงเรียนตัวเองนิดหนึ่ง 555+) เลยมีสิทธิ์สอบโควตาภาคเหนือ แต่ออกตัวก่อนเลยว่า คะแนนพี่ไม่ได้ดีเลิศ แต่คะแนนพี่ผ่านครึ่งทุกวิชา มาอย่างละนิดอย่างละหน่อย ทำให้พี่มีวันนี้ได้ พี่ติดโควตาภาคเหนือค่ะ โครงการไม่ได้เลือก พูดง่ายๆก็คือ พี่ติดแพทย์001 มช. 001เป็นรหัสคณะตอนเลือกค่ะ มช.จะแบ่งเด็กที่ติดแพทย์ออกแบบนี้
สถานที่เรียนตอนปี1-3 สถานที่เรียนตอนปี4-6
1.โครงการเรียนดี มช. มช.
2.โควตาภาคเหนือ(001) มช. มช.
3.กสพท. มช. มช.
4.โครงการแพทย์ชนบท(CPIRD) มช. โรงพยาบาลจังหวัดลำปาง
5.โครงการเมกะโปรเจ็ค(Mega Project)มช. โรงพยาบาลจังหวัดลำปางหรือเชียงราย
6.โครงการโอดอท(ODOD) มช. โรงพยาบาลตามที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
(เครดิต : เพื่อนๆในคณะแพทย์ มช. ปี1'54)
การเป็นหมอเนี่ย จะมีวิธีรับ 2 ทาง คือ
1.รับตรง ก็คือ โควตาพื้นที่นั่นเองเป็นของแต่ละมหาลัยที่จะจัดสอบ(เพื่อให้ง่ายพี่จะเรียกว่ารับตรงนะ)
2.กสพท.[กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย] (พี่เรียกว่ารับกลางเพราะมันรวมทั่วประเทศ)
>>การรับต่างกันอย่างไร?
1.รับตรง อย่างที่พี่บอกไปคือ ข้อสอบจะเป็นของแต่ละมหาลัยออกเอง อย่างพี่เป็นเด็กเหนือพี่ก็จะได้โควตาภาคเหนือ ซึ่งมหาลัยที่รองรับคณะแพทย์ ก็จะเป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ความจริงเนี่ย ตอนที่สมัครโควตาภาคเหนือ น้องก็สามารถเลือกมหาลัยอื่นได้นะ
การเลือกในระบบรับตรงโควตาจะต่างจากแอดกลาง(Admission) คือรับตรงจะเลือกได้สูงสุด 2 คณะในแต่ละมหาวิทยาลัยแต่มีสิทธิ์เลือกได้ 4 อันดับ แต่แอดกลางจะเลือกได้ 4 อันดับ มหาวิทลัยใดก็ได้คณะใดก็ได้
อ่านแล้วงงมั้ย? ถ้างงพี่จะให้ตัวอย่าง
ในโควตาภาคเหนือเนี่ย จะมีมหาลัยรัฐให้เลือกคือ มช. มน. มข. มอ. เอกชนก็มี หอการค้า พายัพ ฯลฯ จำไม่ได้ละประมาณนี้ คณะก็แล้วแต่น้องๆ แต่เวลาเลือก! พี่มีสิทธิ์เลือกคณะของมช.ได้แค่สองคณะ และมหาลัยอื่นอีกสองคณะ
เช่น
อันดับ1 : แพทย์ ม.เชียงใหม่
อันดับ2 : เภสัช ม.เชียงใหม่
อันดับ3 : วิศวะฯ ม.ขอนแก่น
อันดับ4 : วิศวะ ม.สงขลา
(พี่ไม่แนะนำให้เลือกตามนี้นะ เป็นแค่ตัวอย่างสมมุติเฉยๆ ถ้าน้องเลือกอับดับ1กับอันดับ2แบบพี่ โอกาสหลุดสูงมาก=_=)
อย่างที่เห็นคือเลือกของมหาลัยเดียวกันได้แค่สองอันดับเท่านั้น พี่เลือกของมช.มากกว่านี้ไม่ได้
แล้วก็น้องสามารถเลือกโครงการเพิ่มได้อีก อาจจะเป็นโครงการ ของหมอ หรือหมอฟันก็ได้
โอเค จบของส่วนรับตรงไป ทีนี้เรามาดูของกสพท.กันบ้าง
2.กสพท. จะเริ่มต้นรับสมัครประมาณเดือนสิงหาคม
คะแนนที่ใช้ก็แบ่งออกเป็น สัดส่วน 70 : 30 คือวิชาสามัญ 70% และวิชาความถนัดแพทย์30%
วิชาสามัญ70 % ก็เอามาแบ่งน้ำหนักให้แต่ละวิชาอีกทีเป็น วิทย์ 40% คณิต 20% อังกฤษ 20% ไทย 10 % สังคม 10%
แล้ววิชาที่สอบวิชาแรกเนี่ย คือความถนัดแพทย์ จะสอบตอนประมาณสิ้นเดือนตุลาคม (เห็นงี้มาสองปีละ) ส่วนวิชาสามัญสอบเดือนมกราคม ประกาศผลก็ กุมภาพันธ์ วิธีเลือกคณะของกสพท.เนื่องจากความขี้เกียจส่วนตัว~ พี่แนะนำให้อ่านหนังสือความถนัดแพทย์เพราะสอนอยู่แล้ว~ (โป๊กก!!) เจ็บอ้ะTOT ทำเค้าทำไม!!
กสพท.จะมีสถาบันแพทย์ให้เลือกอยู่ 12สถาบัน และ ทันตะฯ 5 สถาบัน วิธีเลือกง่ายๆ... น้องก็เอาตารางคะแนนปีก่อนๆมากาง แล้วก็นั่งดู แล้วก็หยิบออกมา 4 มหาลัยที่ชอบก่อน จากนั้นก็เรียงคะแนน อ้ะๆ ดูที่คะแนนต่ำสุดของปีก่อนนะ ไม่ใช่สูงสุดนะน้อง- -* แต่บางคนอาจจะเกิดปัญหาว่า....
เดินช๊อปปิ้ง หยิบมา 4 มหาลัย เป็นคณะแพทย์หมด เลือก จุฬา รามา ศิริราช วชิระ ^^~ จากนั้นเพิ่งมาแหกตาว่าO_O! เฮ้ยทำไมคะแนนติดกันหมด....เสี่ยงหลุดโคตร ยิ่งจุฬาฯ กับ ศิริราช บร๊ะเจ้าจ๊อดดด!! น้องไม่ต้องตกใจไป- -
คะแนนมันติดๆกันหมดอยู่แล้ว เพราะงั้น
อันดับ 1 : เลือกมหาลัยและคณะที่ชอบที่สุด ไม่ต้องสนคะแนนมัน
อันดับ 2 : เลือกมหาลัยที่อยากเรียนรองลงมาจากอันดับ1 และคะแนนต่ำกว่าอันดับ1
อันดับ 3 : เลือกมหาลัยที่อยากเรียนรองลงมาจากอันดับ2 และคะแนนต่ำกว่าอันดับ2
อันดับ 4 : เลือกมหาลัยที่อยากเรียนรองลงมาจากอันดับ3 และคะแนนต่ำกว่าอันดับ3
แต่จริงๆ ถ้าอยากเรียนเนี่ย ไม่ควรเลือกที่คะแนนติดกันมากเกินไปนะคะ อย่างเช่น
อันดับ 1 : คณะแพทย์ จุฬาฯ
อันดับ 2 : คณะแพทย์ รามา
อันดับ 3 : คณะแพทย์ มช.
อันดับ 4 : คณะแพทย์ มน.
อะไรแบบนี้ก็ได้ คือถ้าน้องไม่ยึดติดกับสถาบันนะ ควรเลือกคะแนนห่างๆหน่อยก็ดี
ปัญหาของหลายๆคนอาจจะมีว่า.....ก็เค้าอยากอยู่มน.อ่ะ มน.ใกล้บ้านเค้า!! แต่ที่หยิบมาก็มี จุฬา พระมงกุฎ มช. มน.
อยากเอามน.ไว้อันดับหนึ่งอ่ะ แต่เผอิญว่า....มน.มันคะแนนต่ำสุดน่ะสิน้องเอ๊ย=_=" ถ้าอยากได้มน.จริงๆ น้องต้องตัด3มหาลัยแรกออก แล้วเลือกเป็นทันตะแทน เพราะคะแนนต่ำกว่า (แต่พูดให้เข้าใจก่อนนะ พี่ไม่ได้มีเจตนาดูถูกมหาลัยนะคะ แต่อ้างอิงจากคะแนนต่ำสุดสูงสุดของปี53แล้วที่พี่ยกเป็นมหาวิทยาลัยรัฐมาพูด เพราะน้องส่วนใหญ่ก็มองแต่มหาลัยรัฐก่อนอยู่แล้วใช่มั้ยล่ะ?)
>>อาจจะมีคำถามว่า.....พี่คะ ถ้าหนูเลือกไม่ครบ4อันดับได้ไหมคะ
ได้ค่ะ พี่ก็เลือกไม่ครบ แต่ไม่ว่าน้องจะเลือกครบหรือไม่ครบ น้องก็เสีย 1,215 บาทอยู่ดี /O\\ 1200ค่าสมัคร อีก15บาทค่าธรรมเนียมธนาคาร แต่ถ้าน้องไม่มีมหาลัยที่อยากได้จริงๆ ก็ไม่ต้องเลือกให้ครบนะคะ มันก็แล้วแต่น้อง ว่าน้องอยากเสี่ยงดวงแค่ไหน เพราะมันไม่ได้ประกาศรอบเดียว แต่บางทีกสพท.ก็มีประกาศรอบสอง รอบสามออกมา ซึ่งคะแนนจะลดลง น้องก็มีสิทธิ์ได้
สมมุติ
ประกาศคะแนนรอบที่1
คะแนนต่ำสุดจุฬาฯ 66.5436 คะแนน
คะแนนต่ำสุดมช. 63.1549 คะแนน
ประกาศคะแนนรอบที่2
คะแนนต่ำสุดจุฬาฯ 64.9832 คะแนน
น้องมีคะแนนในมือ 65.0000 คะแนน และน้องเลือกไว้สองมหาลัยคือจุฬาอันดับ1 มช.อันดับ2
ถ้าน้องเลือกแบบนี้ น้องจะติดมช.แทนที่จะติดจุฬา
แต่ถ้าน้องเลือกจุฬาฯอันดับ1เดี่ยวๆ รักเดียวใจเดียวกล้าเสี่ยง! รอประกาศรอบ2 น้องจะติดจุฬาฯสมใจ....
>>แล้วพวกโครงการคืออะไร? เราเลือกมันได้ตอนไหน?
โครงการจะแบ่งออกเป็น 3 โครงการเฉพาะของแพทย์(เท่าที่พี่รู้ตอนนี้) ถามว่าโครงการนี้มีที่ไหนบ้าง มีทั่วประเทศที่รับคณะแพทย์เลย แล้วแต่พื้นที่จังหวัดที่น้องอยู่ว่า ไปสังกัดมหาวิทยาลัยไหน อย่างภาคเหนือก็ขึ้นกับคณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ นครสวรรค์ ภาคกลางบางจังหวัดก็ขึ้นกับจุฬาฯบ้าง มหิดลบ้าง น้องต้องไปดูว่าตัวเองมีสิทธิ์สอบของที่ไหนบ้าง เราเลือกโครงการได้ ตอนที่สมัครสอบโควตา....
1.โครงการ One District One Doctor [ODOD] เรียกง่ายๆว่า โอดอท สำหรับภาคเหนือ คนที่มีสิทธิ์เลือกโครงการนี้ได้ ชื่อ>ตัวเอง< ในทะเบียนบ้าน ที่อยู่ ต้องไม่ใช่อำเภอเมือง [หรือ] ชื่อพ่อแม่น้อง ที่อยู่ในทะเบียนบ้าน เป็นต่างอำเภอ และอยู่มาแล้วอย่างน้อย 3 ปี
2.โครงการ Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor [CPIRD] เรียกว่า แพทย์ชนบท หรือเรียกเป็นชื่อโครงการไปเลยว่า ซี-เพริท แต่ส่วนมากก็เรียกกันย่อๆว่า แพทย์ชนฯ เป็นอันรู้กัน
3.โครงการ Mega Projects เรียกเลยว่า แพทย์เมกะฯ หรือ โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม แม้จะเป็นการผลิตแพทย์เพิ่มเหมือนกัน แต่ว่าต่างจาก CPIRD นะ
>>แต่ละโครงการต่างกันอย่างไร?
1.ODOD : เรียน 3 ปีแรก(ชั้นพรีคลินิก) ในมหาวิทยาลัย และ 3 ปีหลัง(ชั้นคลินิก)ที่จังหวัดบ้านเกิดตามทะเบียนบ้านตอนแรก ระยะเวลาการใช้ทุน 12 ปี ถ้าอยากเรียนต่อเฉพาะทาง มันจะเหมือนกับเล่นเกมส์ ปกติเราเล่นเกมส์เนี่ย โผล่มาตอนแรกก็อาจจะให้เลือกได้แค่สนามเดียวหรือเซิฟเวอร์เดียวก็คือพวก beginner หรือ practise ทำนองนั้น ยิ่งเลเวลสูงยิ่งปลดด่านยากๆ ให้เลือกเล่นได้ใช่ไหม นั่นแหละเหมือนกัน ยิ่งเราใช้ทุนนานไปเรื่อยๆ สาขาที่เราอยากเลือกเรียนต่อก็จะค่อยๆปลดออกมาให้เราได้เลือก มันแล้วแต่ว่าน้องจะเจอกี่ปี สมมุติ ใช้ทุนไป 3 ปี เฉพาะทางเด็กเปิดให้เรียนแล้ว ใช้ไปอีก 2 ปี ศัลยกรรมกับอายุรกรรมเปิดให้เรียนแล้ว ประมาณนี้
2.CPIRD : เรียน 3 ปีแรก(ชั้นพรีคลินิก) ในมหาวิทยาลัย และ 3 ปีหลัง(ชั้นคลินิก) ในจังหวัดที่แต่ละมหาลัยกำหนด อาจจะเป็นบ้านเกิดตัวเองหรือไม่ก็ได้ ระยะเวลาใช้ทุนเหมือนปกติ 3 ปี^^
3.Mega projects : เรียน 3 ปีแรก(ชั้นพรีคลินิก) ในมหาวิทยาลัย และ 3 ปีหลัง(ชั้นคลินิก) จะเลือกลงได้แต่ก็แค่ในจังหวัดที่มหาลัยกำหนดเหมือนกัน ระยะเวลาใช้ทุนเหมือนปกติ 3 ปี^^
>>แล้วโครงการต่างกับโควตารับตรงและกสพท.อย่างไร?
มันก็ไม่ได้ต่างกันมากหรอกค่ะ ต่างกันตรงที่ความหน้าตาดี ใครเลือกโควตา ก็หน้าตาดีหน่อย55+(/me เผ่น) ล้อเล่น!~ ก็ต่างกันเรื่องสถานที่เรียนตอนปี4-6นั่นเอง ถ้าติดโควตาหรือกสพท.ก็จะได้เรียนที่เดิม6ปีเต็ม! แต่ถ้าเป็นโครงการ ก็อย่างที่บอกคือ ต้องไปเรียนในโรงพยาบาลพื้นที่ที่มหาลัยกำหนดไว้ ส่วนที่ต่างอีกเรื่อง(เรื่องนี้พี่ไม่ค่อยแน่ใจแต่เท่าที่ได้ยินมานะ)ก็คือ การเลือกสถานที่ใช้ทุน ถ้าน้องๆ เป็นโควตาหรือกสพท. น้องจะมีสิทธิ์เลือกก่อน แต่ถ้าคนเลือกจังหวัดนั้นเยอะ ก็ต้องจับฉลากเอาเหมือนกัน คนที่ได้เลือกรองลงมาก็คือ โครงการเมกะโปรเจ็ค สุดท้ายคือแพทย์ชนฯ ส่วนโอดอท ไม่มีสิทธิ์เลือก เพราะต้องกลับไปใช้ทุนอำเภอตัวเองอยู่แล้ว และใช้มากกว่าคนอื่น 12 ปี(กะว่าแก่อยู่กับที่เลยทีเดียว= =)
>>ถ้าเราไม่ใช้ทุนได้ไหม?
ได้ค่ะ แต่ด้วยสามัญสำนึกแล้ว ควรจะใช้อย่างต่ำก็ 1 ปีนะพี่ว่า = =a พวกใช้ทุน 3 ปีเนี่ย ตอนทำสัญญาพี่เซ็นไปรับรองว่าถ้าไม่ใช้ก็จ่าย4แสนบาท แต่สมมุติพี่ใช้ทุนไป1ปี จำนวนเงินก็ลดลงตามเวลาที่เหลือนั่นแหละค่ะ แต่โอดอทรู้สึกจะเสียมากกว่านั้น เพราะเป็นโครงการที่ล็อกตัวแพทย์ไว้เลย ต้องการในพื้นที่ชนบทมาก
แนะนำเรื่องการสมัครสอบ+วิธีเลือกไปแล้ว.... เรื่องต่อมาที่(โดนบังคับให้)แนะนำก็คือ...เรื่องการอ่านหนังสือ
จุดเริ่มต้นในการเริ่มอ่านหนังสือ : อันนี้ไม่เกี่ยง ใครเริ่มเร็วก็ได้เปรียบ เริ่มช้าก็เสียเปรียบหน่อย พี่เริ่มอ่านเหยาะแหยะ(ประมาณพลิกๆไม่กี่หน้าแล้วก็วางไปเล่น~)ตั้งแต่ปิดเท อมใหญ่ม.5ขึ้นม.6 แต่พี่ก็เรียนเนื้อหายังไม่จบนะ แต่ปิดเทอมเนี้ยพี่ตั้งใจเรียนมากขึ้น เวลาไปเรียนพิเศษก็ไปก่อนเวลานิดหน่อย การบ้านที่อ.สั่งก็ทำทุกครั้ง เวลาที่เริ่มอ่านพี่ไม่ได้เน้นอย่างจัดตารางอ่านหนังสือ(เพราะเป็นคนที่ชอบ แหกกฎ^^") พี่รู้ตัวว่าพี่ทำตามตารางไม่ได้หรอก เสียเวลาทำด้วย แต่พี่มีวินัยกับตัวเองที่ว่า ถ้าอ่านแล้วต้องอ่านจริงๆนะ พี่กำหนดรางวัลและบทลงโทษให้ตัวเอง บนโต๊ะพี่เขียนติดโพสอิทแปะไว้ ด่าตัวเอง "อย่าให้มันเป็นแค่เพียงคำพูดที่สวยหรูสิ...พูดแล้วต้องทำให้ได้" หรือให้กำลังใจ "เพราะแสวงหามิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญมิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถมิใช่เพราะโชคช่วย ดังนั้นลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"อันหลังเป็นคำพูดของขงเบ้ง(สามก๊ก) พี่ค่อนข้างเชื่อนะ เพราะพี่เป็นคนที่ไม่ค่อยมีดวงเท่าไร แบบไม่อ่านหนังสือเลย คะแนนมันก็ออกมาตามผลการกระทำนั่นแหละ แต่ถ้าอ่านไปบ้าง เหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เห็นใจ ถึงมั่วบ้างคะแนนก็ออกมาใช้ได้
แล้วถามว่าพี่ใช้เวลาช่วงไหนอ่านบ้าง...อันที่จริงก็ไม่มีตายตัวนะ วันไปเรียนปกติก่อนละกัน พี่ลองทำไอ้ที่รุ่นพี่เขาบอกว่าดีมาหมดแล้ว อย่างบางคนก็บอกว่า หลับ4ทุ่ม ตื่นมาตี4อ่านหนังสือ(สำหรับเด็กตจว.แล้วเป็นปกติที่จะตื่น7โมงน้องที่อยู่ กรุงเทพไม่ต้องแปลกใจ- -)พี่ทำอยู่ช่วงหนึ่ง จนเริ่มรู้สึกว่า เฮ้ย มันไม่ใช่ละ อ่านตอนเช้าหิวก็หิว แถมสมองยังตื่นไม่เต็มที่อีกด้วย พี่ก็เปลี่ยน กินข้าวเย็น+แปรงฟันเสร็จประมาณ6โมงก็เริ่มอ่าน จน2ทุ่มอาบน้ำ+พัก 3ทุ่มอ่านต่อถึงเที่ยงคืน แล้วก็หลับ ตื่นเช้ามา 6โมง อาบน้ำแต่งตัวไรเสร็จ6ครึ่ง อ่านต่อ 7โมง15ทานข้าวแล้วไปโรงเรียน ส่วนวันหยุด...ตื่นมาทำไรเสร็จก็อ่านเลย มีพักกินข้าวเที่ยง พักเล่นบ้าง15-30นาที แล้วแต่ เรียกได้ว่าอ่านทั้งวัน ถ้าไม่มีงาน น้องจะเห็นว่า ตารางเวลาพี่ มันจะไม่เหมาะกับน้องเลย ถ้าน้องเป็นเด็กกรุงเทพฯ ที่ต้องตื่นแต่ตี4เป็นปกติอยู่แล้วเพื่ออาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน เพราะฉะนั้นพี่ถึงบอกแล้วว่า เราต้องปรับตัวเอง ต้องรู้ตัวเอง ต้องสอนตัวเองทุกวัน เราโตขึ้นทุกวัน เราต้องรับผิดชอบชีวิตตัวเองในอนาคต ระเบียบวินัยการอ่านหนังสือแค่นี้เราวางเองได้ ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นมาคอยจ้ำจี้จ้ำไช สำหรับเด็กตจว.อยากลองแบบพี่ก็ได้ แต่เด็กกรุงเทพ ในเมื่อน้องเสียเปรียบตรงที่ว่า เสียเวลาในการเดินทางไปเรียนนาน ดังนั้นน้องควรอ่านหนังสือในรถไปด้วยตอนที่รถติดไฟแดงหรือเคลือนไปช้าๆ จะได้ดึงส่วนของเวลาที่เสียไปกลับมา แต่ต้องระวังถ้ารถสั่นมากหรือแสงน้อยอย่าอ่านเพราะสายตาเสีย
อีกเรื่องที่น้องมักจะประสบปัญหากันคือเรื่องการบ้านและกิจกรรมที่โรงเรียน แล้วมันจะมีเด็กอยู่สองประเภทคือ
1.พวกที่ไม่อ่านหนังสือทำงานให้เสร็จก่อน
2.พวกที่อ่านแต่หนังสือไม่ทำงาน
พี่บอกได้เลยว่าพี่เป็นประเภทที่1 คือพี่คิดว่าเวลาเราทำการบ้านเนี่ย ไม่ใช่ว่าเราไม่ได้ความรู้ เราก็ได้ความรู้แต่อยู่ในรูปแบบงานที่ต่างออกไปเท่านั้นเอง คือพี่ไม่ได้ว่าประเภทที่2นะ พี่ก็เข้าใจอยู่ว่า ไหนๆก็จะจบม.6แล้ว ถ้าติดรับตรงไป เกรดก็ไม่เห็นต้องไปแคร์เลย ซึ่งจริงๆพี่เองก็เห็นด้วย แต่พี่ก็ดันแคร์=_=" เพราะพี่คิดว่า ไหนๆก็ปีสุดท้ายของม.ปลายแล้ว ทำอะไรให้มันสุดๆของชีวิตสักครั้ง งานก็เอา กิจกรรมก็เอาบ้าง หนังสือก็อ่าน บางกิจกรรมเราเลี่ยงไม่ได้ เราก็จำเป็นต้องทำ โดยเฉพาะงานห้องเนี่ย ม.6มักจะไม่ค่อยสนใจกัน มักจะคิดว่าเออ งานห้องเดี๋ยวก็มีคนทำเอง หารู้ไม่ว่าทุกคนดันคิดแบบเดียวกันหมด....เพราะงั้นไม่ใช่แค่ตัวเองจะเอนท์ คนอื่นก็เอนท์ด้วย พี่เชื่อว่าคนทำดียังไงก็ต้องได้ดี มันไม่ใช่แค่ว่าเราเครียดคนเดียว คนอื่นเขาก็เป็น เห็นใจกันให้มากๆ แล้วน้องจะพบว่าความเห็นแก่ตัวของเราจะลดลง งานมีถ้าช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ เดี๋ยวมันก็เสร็จ งานเสร็จทุกคนก็ไปรับผิดชอบตัวเองต่อแล้ว
น้องอยากเป็นแบบไหนน้องก็เลือกเอาละกันนะ....
โดยส่วนตัวพี่เป็นคนที่ไม่มีระเบียบวินัยในการอ่านหนังสือเท่าไร=_=// เลยแนะนำไม่ค่อยจะถูก แต่พี่จะบอกวิธีทำของพี่ละกัน
1.เอาหนังสือ ชีท ทุกอย่าง ที่เรียนพิเศษหรือในโรงเรียนที่ดูมีประโยชน์ต่อการเพิ่มความรู้อันน้อยนิดใน หัวให้มากขึ้น ออกมาจัดเรียงเป็นวิชา แล้วก็เรียงตั้งแต่ ม.4-ม.6
2.รื้อตู้หนังสือจัดใหม่ l ไทย+สังคม l เคมี l ชีวะ l ข้อสอบ l อังกฤษ l คณิต l
3.ส่วนตัวพี่ชอบชีวะ พี่เริ่มอ่านชีวะก่อน เพราะพื้นฐานชีวะพี่แน่นกว่าวิชาอื่น แนะนำน้องที่กำลังหัวปั่น วิชานั้นก็ต้องอ่าน วิชานี้ก็ต้องอ่าน พี่อยากให้น้องสงบสติอารมณ์ก่อน แล้วค่อยมองว่าน้องพิจารณาว่าชอบวิชาอะไร แต่! มันจะมีประเภทที่ว่า พี่เค๊อะ~ หนูถนัดวิชางานบ้านอ่ะค่ะ....~ หรือ พี่ครับ ผมไม่ถนัดซักวิชาอ่ะ << =_= งี้พี่ก็ช่วยน้องไม่ได้นะคะ ตัวใครตัวมันละ ยังไงก็ต้องเริ่มอ่านซักวิชา เอาที่เกลียดน้อยที่สุดก็ได้
4.อ่านทุกวัน ให้มันสม่ำเสมอ แรกๆ น้องจะขี้เกียจ โอ๊ย!~ อ่านตั้ง 15 นาทีแล้ว ไปพักเล่นเฟซบุ๊คดีกว่า << แบบนี้ห้ามนะน้อง- - วันแรกพยายามเริ่มต้นให้มันนานหน่อย สัก 1 ชม. แล้วน้องก็ตั้งรางวัลกับตัวเอง ถ้าฉันตั้งใจอ่านครบ1ชม.นี้ เดี๋ยวจะให้พักเล่นครึ่งชม. (โคตรคุ้ม^^~) แต่น้องต้องตั้งใจจริงๆนะ ไม่ใช่มัวแต่ไปมองเวลา เมื่อไรจะ1ชม.ว้า~ หรือนั่งคิดว่า เดี๋ยวตอนพักจะเล่นไรดี คุยโทรศัพท์กับแฟน ไรงี้ ห้ามทำเด็ดขาด- - แน่นอนว่ามีรางวัล.....เราต้องมีบทลงโทษ หึหึหึ -,.....,-+ ถ้าพี่ว่อกแว่ก ไม่ยอมอ่านหนังสือ พี่จะลงโทษตัวเองโดยการอดเล่นคอมไปในวันนั้น ห้ามมีข้ออ้างใดๆ ไม่ว่าจะมีงานหรือไม่ ยกเว้นงานกลุ่มที่มันทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนด้วย หลังๆน้องจะอ่านจนติดไปเอง ชนิดที่ว่า ไม่ได้อ่านแล้วรู้สึกอะไรมันขาดๆไป....
>>ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะอ่านหนังสือ
1.ยอดฮิตมาก! อ่านแล้วหลับ.... : ถามว่าพี่เป็นรึเปล่า? พี่ก็เป็น วันไปโรงเรียนปกติ พี่อ่านตั้งแต่อาบน้ำเสร็จก็2ทุ่ม - เที่ยงคืน อาบน้ำตอนแรกมันยังไม่ง่วงหรอก ผ่านไปสักพักจะเริ่มง่วง วิธีแรก ตบหน้าตัวเองเบาๆ พอเรียกสติ ไปสักพักเริ่มไม่ไหว ลุกเดินไปล้างหน้า กลับมาอ่านต่อ ขั้นสุดท้ายรู้สึกสมองล้าไม่ไหวแล้ว ใช้งานมันหนักทั้งวัน ให้หลับตา ในขณะที่นั่งอ่านหนังสือ ให้เอาแขนมาเท้าคางไว้ ห้ามฟุบกับโต๊ะเด็ดขาด เพราะมันจะหลับไปจริงๆ=_= แล้วน้องก็ปล่อยให้ตัวเองเคลิ้มๆสะลึมสะลือ จนถึงจุดที่คิดว่าตัวเองใกล้จะหลับแล้ว ให้กระชากตัวเองออกมาจากภวังค์อย่างเร็วๆ อาจจะเอาแขนลงทันที (ระวังหน้าอย่ากระแทกกับโต๊ะก่อนล่ะ) น้องจะงงๆก๊งๆนิดหน่อย แต่จะรู้สึกสดชื่นขึ้น เพราะสมองน้องได้หลับไปนิดหนึ่งแล้ว เริ่มอ่านต่อได้
2.อ่านแล้วไม่เข้าหัว : ไม่ใช่อ่านแล้วไม่เข้าใจนะ แต่อ่านแล้วไม่เข้าหัวคือเกิดอาการที่ว่า...ขณะนั้นในหัวกำลังคิดฟุ้งซ่าน อยู่ หลายๆเรื่องผสมปนเปกัน เช่น กังวลว่าจะอ่านทันไหม? เมื่อกี้ข่าวสึนามิว่าไงบ้างมันจะบอกข้อสอบสังคมไหมว้า? แฟนทำตัวห่างเหินหรือว่ามีกิ๊ก? นี่แหละเป็นสาเหตุที่ทำให้น้องอ่านไม่เข้าหัว ก็เล่นให้สมองคิดเรื่องแบบนี้อยู่แล้วเอาจะส่วนไหนมาทำความเข้าใจเนื้อหา เพราะงั้นขณะอ่าน ให้ตัดความคิดเรื่องพวกนี้ออกไปให้หมด โฟกัสสายตาไปที่ตัวหนังสือ ไม่ใช่ว่าเพ่งนะ แต่โฟกัสจ้องไปที่มันเฉยๆ ถ้ายังไม่เลิกคิดให้อ่านเนื้อหาดังๆ สักพักจะดึงตัวเองกลับมาสนใจเนื้อหาได้ พอดึงได้ปุ๊ป รีบฉวยโอกาสนี้ อ่านแล้วตั้งคำถามว่า เมื่อกี้เราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน คิดคำถามให้ตัวเอง (สมมุติตัวเองเป็นครูแล้วจะออกข้อสอบให้นักเรียน)เหมือนเก็งข้อสอบไปในตัว ว่า น่าจะออกแนวนี้
3.อ่านแล้วไม่เข้าใจ : สูตรนี้มันมาจากไหน? พิสูจน์ยังไง เหตุผลคืออะไร ถ้าไม่เข้าใจจริงๆ ขั้นแรกของพี่คือ เปิดอินเตอร์เน็ต เสิร์ชเลย แต่ข้อมูลมันจะกระจายเป็นวงกว้าง บางทีไม่มีคนย่อยข้อมูลให้เราเหมือนที่เรียนพิเศษ เราต้องนั่งเก็บรายละเอียดเอง ซึ่งจะช้า แต่ถ้าน้องเก็บรายละเอียดไปเรื่อยๆ น้องจะพบว่า น้องลิ้งเรื่องโน้นเรื่องนี้เข้าหากันได้หมด ถ้ามีความรู้ตัวนี้ พอคิดลิ้งได้ ก็จะเริ่มสนุกกับการคิดแล้วทีนี้
แต่ถ้าพี่หายังไงก็ไม่เจอ หรือเริ่มอารมณ์เสียกับข้อมูลที่มากและไม่ตรงคำถามพี่ พี่ก็จะจดใส่กระดาษไว้ แล้วไปถามครูที่โรงเรียน ครูที่โรงเรียนน้องอย่าไปดูถูกว่าไม่เก่งเท่าครูที่เรียนพิเศษนะ บางทีท่านแค่ถ่ายทอดให้คนส่วนมากฟังไม่ค่อยดีเท่านั้นเอง แต่ท่านก็เก่ง เพราะจบจากสาขาวิชาที่ท่านถนัด น้องเข้าไปหาท่านเถอะ แม้ว่าท่านจะดุ แต่สำหรับถ้าเป็นครู พี่ชอบนะ เด็กที่ตั้งใจใฝ่หาความรู้นอกห้องเรียน
แต่ถ้าน้องบังเอิญเจอครูที่ยกอารมณ์เหนือเหตุผล น้องก็พยายามเลียงไปหาครูท่านอื่นละกัน อย่าไปหาเรื่องอะไรเลย เพราะคนที่เสียเปรียบมีแต่เรา ถ้าน้องเจอแบบนี้ พี่อยากให้น้องเก็บไว้เป็นบทเรียนชีวิตมากกว่าว่า เออ นี่นะ เราไม่ชอบผู้ใหญ่แบบนี้ โตขึ้นเราจะไม่เป็นแบบนี้นะ เราจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กๆรุ่นต่อไป ให้เขานับถือเราด้วยความรู้และความสามารถที่เรามี ไม่ใช่เคารพเพียงเพราะอาวุโสของเราเท่านั้น
>>>หนังสือแต่ละวิชาที่พี่อ่าน
ชีวะ : พี่อ่านหนังสือของหมอพิชญ์ทั้งหมด (^^โปรโมตๆ แต่ไม่เห็นจะได้แคมเบลเลยอ่ะ555+) ตอนพี่เรียนมันยังเป็น5เล่มจบอยู่ เดี๋ยวนี้เป็น6เล่มจบแล้วนี่นะ พี่เรียน5เล่มนี้ก็ไม่เรียนคอร์สเอนฯแล้ว แล้วก็ไปตั้งใจเรียนในห้อง + ทำแบบฝึกหัดมากๆ นอกจากเรียนพิเศษกับหมอพิชญ์ พี่ยังเรียนพิเศษกับอาจารย์ในโรงเรียนพี่อีกด้วย ซึ่งอาจารย์เป็นคนที่ความรู้แน่นปึกมากๆ ฮาร์ดคอดีพี่ชอบ(ซาดิสม์555+ล้อเล่นๆ) ด้วยความชอบบวกกับทบทวนเยอะ ทำให้พื้นฐานพี่แน่น ตอนทำข้อสอบอ่านแล้วกาได้เลย แทบไม่เสียเวลา จะได้เก็บเวลาไปทำฟิสิกส์กับเคมีเยอะๆ ถามว่าพี่ทวนมากแค่ไหน....ชีวะพี่เริ่มตั้งแต่ม.4แล้ว อ่านทวน รวมทั้งจดสรุปย่อดึงเนื้อหาออกจากหนังสือ ถามว่าเปิดหนังสือมั้ย เปิดนะ=_=a เพราะพี่ไม่เก่งขนาดที่ว่าปิดหนังสือเขียนได้ ถ้าให้ปิดก็ได้ แต่พี่ไม่มั่นใจว่ามันจะถูกชัวร์รึเปล่า พี่จดออกมารอบหนึ่ง แล้วมานั่งอ่านที่ตัวเองจดอีกรอบ หนังสือที่พี่ลอกออกมาก็คือหนังสือ 5 เล่มของหมอพิชญ์ เสริมส่วนที่หมอพิชญ์ขาดไปแต่อาจารย์พี่สอน ทำให้มันดูสมบูรณ์ขึ้น
เคมี : ตอนนั้นพี่โง่เคมีมาก ชนิดที่ว่า คำนวณปริมาณสารไม่เป็นอ่ะน้อง - - สูตรอะไรพี่ไม่รู้เรื่องเลย เพราะพี่แอนตี้เคมีตั้งม.4 ปิดเทอมซัมเมอร์พี่ทุ่มให้คอร์สเดียวเลยคือคอร์สเอนฯ อ.อุ๊ ตอนที่ทำการบ้านนะน้องเอ๊ยยย ไม่อยากจะบอก น้ำตาพี่งี้แทบไหล ทำไม่ได้เลยอ่ะ โมโหตัวเองด้วยที่ว่าตอนนั้นทำไมไม่ตั้งใจเรียน แต่พี่ก็ทำจนเสร็จนะ ทำไม่ได้ก็มั่วไป พยายามทำนั่นแหละ จนมันเสร็จ ตอนนั้นจำได้เลยว่า การบ้านปริมาณสารนั่งทำตั้งแต่5โมงเย็น-ตี1 =_=" เป็นอะไรที่พี่เข็ดมาก พอจบคอร์ส เหมือนกับว่า เคมีมันก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดนะ เพียงแค่เราทุ่มเทและตั้งใจกับมันมากแค่ไหน พอพี่เริ่มคิดบวกกับวิชาที่แอนตี้ ตอนที่พี่ท้อในการเรียนพี่ก็คิดแบบนี้ เรายังตั้งใจไม่พอ แค่นี้เอง เราต้องทำได้สิ นอกจากอ่านของอ.อุ๊แล้ว พี่ก็ทำข้อสอบ15พศ.ด้วย แต่ทำไม่หมด =_=" แบบว่าไม่ทัน แหะๆ
คณิต(เลข) : พี่ก็ชอบคำนวณนะ แต่ไม่ชอบแบบพวกโคนิคอ่ะ วงกลม วงรีไรเงี้ย เกลียดมาก แต่พี่ชอบพวก แคลฯ ฟังก์ชัน ตรีโกณ แบบนี้มากกว่า มันก็แล้วแต่คนนะน้อง แต่พี่ศิษย์สำนักเดอะเบรน 55+ แต่ไม่ว่าน้องจะเรียนที่ไหน น้องเก็บความรู้ได้เท่าไร มันขึ้นอยู่กับว่าน้องตั้งใจกับมันแค่ไหน ฟังเสียงมันแค่ไหน บทที่พี่ไม่ชอบพี่ก็พอทำให้เอาตัวรอดไปได้ เลขพี่อ่าน 5 เล่ม คอร์สเอนฯเดอะเบรนเช่นกัน + ทำโจทย์ที่พี่ๆให้เป็นการบ้าน
อังกฤษ : พี่เรียนenconceptงับ เนื่องจากครูสมศรีไม่เคยมาเปิดเชียงราย เลยไม่เคยเรียน=_= อย่าถามว่าเรียนที่ไหนดีกว่า เพราะพี่ก็ตอบไม่ได้ นอกจากอ่านของพี่แนนแล้วพี่ก็ทำ Ax22 ทำไม่หมดเหมือนกัน แต่ทำไปได้เยอะอยู่นะ ก็ถึงเอนท์ของปี48อ่ะ ตอนทำ ไม่ใช่แค่ทำแล้วตรวจตามเฉลยนะ เฉลยแล้วก็เขียนศัพท์ที่เราไม่รู้ลงในเทสด้วย (หนังสือเรานี่ อยากเขียนไรก็ได้ ใครจะทำไม! 555+<< เดี๋ยวๆ อย่าเพิ่งหมั่นไส้พี่55+) ความถี่ในการทำข้อสอบก็แล้วแต่อารมณ์=_= (นิสัยไม่ดีเลยเนอะ อย่าเอาเป็นตัวอย่างนะ^^") แต่ก่อนทำบทถัดไป กี่ก็นั่งอ่านที่ตัวเองจดไว้ พวกศัพท์ พลิกตั้งแต่หน้าแรก-หน้าที่จะทำอ่ะ
ฟิสิกส์ : เอ่อ....เรื่องนี้น่าอายมาก 555+ เพราะพี่อ่านไม่ทันT^T พี่เลยจำเป็นต้องทิ้ง แต่พี่ตั้งใจเรียนในห้องอยู่แล้วนะ!! เลยได้ตั้งบทหนึ่ง ><" บทการเคลื่อนที่ง่ะ 55+ แต่พี่ไม่แนะนำให้น้องทิ้งนะคะ ถึงแม้ว่าหมอจะไม่ต้องใช้ฟิสิกส์ แต่น้องก็ต้องเรียนตอนปี1อยู่นะ แถมตอนสอบเข้า คะแนนฟิสิกส์จะเป็นตัวช่วยดึงวิชาอื่นๆด้วย เพราะงั้นตั้งใจอ่านนะ แล้วก็ต้องตั้งใจเรียนในห้องด้วย
ไทย : ปกติพี่ไม่เรียนพิเศษไทย เพราะพี่ถือว่าเป็นคนไทย ภาษาบ้านเกิดเราเองแท้ๆ ยังเรียนให้ดีไม่ได้ แล้วจะไปเรียนภาษาอะไรได้ดี - - ภาษาไทยไม่ได้ยากเลย ถ้าน้องตั้งใจเรียนในห้อง ทำโจทย์บ่อยๆ เรื่องที่พี่แนะนำให้เก็บอย่างแรง และทำความเข้าใจกับมันให้เยอะๆคือ พวกรสในวรรณคดี ถ้าน้องมองตัวนี้ทะลุปรุโปร่งน้องจะสบายขึ้นเป็นกอง แต่แน่นอนพี่เริ่มด้วยคำว่าปกติไม่เรียน....แปลว่าพี่ก็เรียนไงสุดท้าย5555+ พี่ไปติวโควตาภาษาไทยกับอาจารย์ธตรฐ(ชื่ออาจารย์อ่านว่า ทะ-ตะ-รด) ซึ่งถ้าไม่เรียนพี่คงไม่ได้มากกว่านี้=_=" พวกคำ ครุ ลหุ พี่ไม่รู้เรื่องเลย แต่พอไปจำเทคนิคของอาจารย์ ทำให้ทำพวกนี้ได้ทันที
ครุ = เสียงหนัก มีตัวสะกด สระเสียงยาว เช่น คุณครู
ลหุ = เสียงเบา ไม่มีตัวสะกด สระเสียงสั้น เช่น คะ ค่ะ
อ้อ! มีอีกเรื่องที่น้องๆมักจะใช้ผิดกันเยอะ สมัยนี้=_=
เรื่อง ค่ะ กับ คะ ง่ายมากวิธีแก้ น้องลองออกเสียงตามสิ ค่ะ น้องจะรู้สึกเสียงมันต่ำใช่ไหม ลองนึกดู เวลาเราพูดเสียงต่ำเราพูดตอนไหน? ปิ๊งป่อง! ตอนที่ใช้รับคำใช่ป่ะ อย่างเช่น พี่ถามว่า ทำอะไรอยู่ น้องตอบ ทำใจค่ะ
ส่วนคำว่าคะ ลองออกเสียงดู เสียงมันจะสูง เวลาน้องใช้เสียงสูงเนี่ย น้องลงท้ายตอนไหน? น้องจะใช้ตอนที่เป็นคำถามถูกไหม? เช่น ทำอะไรอยู่คะ ช่วยไหมคะ
ถ้าไม่อยากให้ผิด เวลาพิมพ์หรือเวลาเขียน ให้ลองออกเสียงในใจก่อน แล้วสื่อออกมามันจะไม่ผิดเพี้ยน
สังคม : พี่ก็โง่สังคมเช่นกัน= =" แต่...ม.6พี่ตั้งใจเรียนในห้องเพราะชอบประวัติศาสตร์ ม.6น้องจะได้เรียนประวัติศาสตร์สากล ใครอ่านมาเยอะก่อน ได้เปรียบก็โชคดีไป แต่จริงๆแล้วพี่ต้องขอบคุณอาจารย์สุนิดามากๆ เพราะถ้าพี่ไม่ได้ท่านสอนเนี่ย พี่คงคะแนนไม่ผ่านครึ่งแน่นอน น่าเสียดายที่พี่มาเรียนช้าไปหน่อย คือเรียนตอนม.6เทอมสอง ถ้าเรียนตั้งแต่เทอม1คะแนนคงจะดีกว่านี้ พี่ก็อ่านชีทที่อ.ให้ แล้วก็ตั้งใจเรียนในห้อง
Credit : http://www.unigang.com/Article/6426
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น