แนะการเรียน ค่าใช้จ่าย อาชีพหลังจบ ก่อนสมัครเรียนสถาบันการบินพลเรือน
สถาบันการบินพลเรือนจะเปิดรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาต่อหลักสูตรวิชาภาคพื้น ประจำปีการศึกษา 2557 โดยจะเริ่ม 23ธันวาคมนี้แล้ว
ผู้ที่สนใจจึงควรทำความเข้าใจทั้งในเรื่องของหลักสูตร ค่าใช้จ่าย และการทำงานหลังเรียนจบ
โดยการเปิดรับปีการศึกษานี้ สถาบันฯทำการเปิดรับใน 4 หลักสูตรดังต่อไปนี้...
ผู้ที่สนใจจึงควรทำความเข้าใจทั้งในเรื่องของหลักสูตร ค่าใช้จ่าย และการทำงานหลังเรียนจบ
โดยการเปิดรับปีการศึกษานี้ สถาบันฯทำการเปิดรับใน 4 หลักสูตรดังต่อไปนี้...
1.หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต
- สาขาวิชาการจัดการจราจรทางอากาศ
-สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน
-สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ
2.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน
3.หลักสูตรระดับอนุปริญญา
-สาขาวิชานายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน
-สาขาวิชาเทคโนโลยีอากาศยาน (เครื่องวัดประกอบการบิน)
-สาขาวิชาเทคโนโลยีอากาศยาน (อิเล็กทรอนิกส์การบิน)
-สาขาวิชาเทคโนโลยีอากาศยาน (อิเล็กทรอนิกส์การบิน) ภาคสมทบ
4.หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (ต่อเนื่อง 2 ปี)
-สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน
-สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ
แนะนำหลักสูตรปริญญาตรี สถาบันการบินพลเรือน สังกัดกระทรวงคมนาคม
1. หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบิน (Bachelor of Technology in Aviation Program in Aviation Management) ประกอบด้วย 3 วิชาเอก
• วิชาเอกการจัดการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management Program : ATM)ศึกษาด้านการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ และสามารถที่จะปฏิบัติงานเป็นผู้ควบคุมจราจรทางอากาศได้ โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระบบการประเมินผลของมาตราฐานสากลที่กำหนด รู้จักใช้เทคโนโลยีการบริหารจัดการและเทคนิคในการปฏิบัติงาน เพื่อความปลอดภัยในการเดินอากาศ
• วิชาเอกการจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management Program : APM)
ศึกษาด้านการบริหารและการจัดการท่าอากาศยาน และสามารถที่จะปฏิบัติงาน หรือเป็นผู้บริหารในท่าอากาศยานต่างๆ ได้ในอนาคต โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระบบการประเมินผลตามมาตรฐานสากลที่กำหนด รู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการบริหารจัดการและเทคนิคในการปฏิบัติงาน เพื่อความปลอดภัยในท่าอากาศยานและในการเดินอากาศ
• วิชาเอกการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo Management Program : ACM) ศึกษาด้านบริหารจัดการ และทักษะการปฏิบัติงานขนส่งสินค้าทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระบบและตามมาตรฐานสากลกำหนดเพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางอากาศ ทั้งภายในประเทศและภูมิภาคที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.1 ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ในปีการศึกษา 2556 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยต้องเรียนแผนการเรียน ดังนี้
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมรวมทุกวิชาต้องไม่ต่ำกว่า 2.25
แผนการเรียนศิลป์คำนวณ และแผนการเรียนศิลป์ภาษา ประกอบด้วย 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ภาษาไทย และสังคมศึกษาฯ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมรวมทุกวิชาต้อง ไม่ต่ำกว่า 2.25 หรือ
1.2 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.25
แผนการเรียนศิลป์คำนวณ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.25
แผนการเรียนศิลป์ภาษา และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.25
ระยะเวลาเรียน
หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบิน (AVM) (4 ปี = 12 ภาคการศึกษา)
สำเร็จการศึกษา
• ได้รับปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิตการจัดการการบิน (ทล.บ.)
• ได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันการบินพลเรือน ซึ่งรับรองโดยรัฐบาลไทย และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ค่าเล่าเรียน
1. หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบิน วิชาเอกการจัดการท่าอากาศยาน และวิชาเอก
การจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ วิชาบรรยาย หน่วยกิตละ 1,200 บาท วิชาปฏิบัติ –นอกเหนือรายวิชาชีพบังคับ หน่วยกิตละ 2,000 บาท –รายวิชาชีพบังคับ หน่วยกิตละ 2,500 บาท
รวมค่าใช้จ่ายประมาณการตลอดหลักสูตร 12 ภาคการศึกษา เป็นเงิน ประมาณ 279,150 บาท
หมายเหตุ ก่อนเรียนวิชาสหกิจศึกษา ต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ (TOEIC) ไม่ต่ำกว่า 550 บาท
2. หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการบิน วิชาเอกการจัดการจราจรทางอากาศ วิชา
บรรยาย หน่วยกิตละ 1,200 บาท วิชาปฏิบัติ –นอกเหนือรายวิชาชีพบังคับ หน่วยกิตละ 2,000 บาท –รายวิชาชีพบังคับ หน่วยกิตละ 2,500 บาท
รวมค่าใช้จ่ายประมาณการตลอดหลักสูตร 12 ภาคการศึกษา เป็นเงิน ประมาณ 314,250 บาท
หมายเหตุ ก่อนเรียนวิชาสหกิจศึกษา ต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ (TOEIC) ไม่ต่ำกว่า 550 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม www.catc.or.th
โทรศัพท์ 02 272 5741 – 4 ต่อ 261, 230 หรือ E-Mail : Registrar@catc.or.th
แนะนำหลักสูตรอนุปริญญา สถาบันการบินพลเรือน สังกัดกระทรวงคมนาคม
1. หลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชานายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน (Aircraft Maintenance Engineer License : AMEL)
ศึกษาวิชพื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างอากาศยานและเครื่องยนต์ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งการบำรุงรักษาอากาศยาน
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.1 ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ในปีการศึกษา 2556 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยต้องเรียนแผนการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ และมีคะแนนเฉลี่ยนสะสมรวมทุกวิชา ไม่ต่ำกว่า 2.25 หรือ
1.2 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.25 หรือ
1.3 กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยนสะสม 4 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ
1.4 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50
1.5 ตาไม่บอดสี
2. หลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาเทคโนโลยีอากาศยาน (Diploma in Aircraft Technology : AT)
ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา
• วิชาอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Avionics : AT-AE)
ศึกษาวิชาพื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องสื่อสารการบินและอิเล็กทรอนิกส์การบิน ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฎิบัติ รวมทั้ง
การบำรุงรักษาเครื่องสื่อสารบนอากาศยานและสถานีภาคพื้น
• วิชาเอกเครื่องวัดประกอบการบิน (Aircraft Instruments : AT-AI)
ศึกษาวิชาพื้นฐานเกี่ยวกับด้านช่างอากาศยาน โดยเน้นการซ่อมบำรุงเครื่องวัดประกอบการบิน รวมทั้งเครื่องวัดคุมด้านอุตสาหกรรม
คุณสมบัติของผู้สมัคร
2.1 ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ในปีการศึกษา 2556 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยต้องเรียนแผนการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ และมีคะแนนเฉลี่ยนสะสมรวมทุกวิชา ไม่ต่ำกว่า 2.25 หรือ
2.2 สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.25 หรือ
2.3 กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยนสะสม 4 ภาคเรียน ไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ
2.4 สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ไฟฟ้ากำลัง อิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.50
2.5 ตาไม่บอดสี
ระยะเวลาเรียน
1.หลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชานายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน 2 ปี (6 ภาคการศึกษา)
2. หลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาเทคโนโลยีอากาศยาน วิชาเอกอิเล็กทรอนิกส์การบิน และวิชาเอกเครื่องวัดประกอบการบิน 2 ปี (6 ภาคการศึกษา)
สำเร็จการศึกษา
ได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันการบินพลเรือน ซึ่งรับรองโดยรัฐบาลไทย และองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ค่าเล่าเรียน
1. หลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชานายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน ภาคเรียนละ 25,000 บาท
ค่าอุปกรณ์การศึกษา (ต่อภาคการศึกษา) 3,600 บาท
รวมค่าใช้จ่ายประมาณการตลอดหลักสูตร 6 ภาคการศึกษา เป็นเงิน ประมาณ 206,700 บาท
2. หลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชาเทคโนโลยีอากาศยาน วิชาเอกอิเล็กทรอนิกส์การบิน และวิชาเอกเครื่องวัดประกอบการบิน
วิชาบรรยาย หน่วยกิตละ 1,000 บาท วิชาปฏิบัติ หน่วยกิตละ 1,500 บาท
รวมค่าใช้จ่ายประมาณการตลอดหลักสูตร 6 ภาคการศึกษา เป็นเงิน ประมาณ 174,600 บาท
หมายเหตุ
- ก่อนลงทะเบียนวิชาฝึกงาน ต้องมีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ (TOEIC) ไม่ต่ำกว่า 450 คะแนน
-หลักสูตรนี้ เมื่อจบแล้วสามารถเทียบโอนรายวิชา เพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (AEE) ได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม www.catc.or.th
โทรศัพท์ 02 272 5741 – 4 ต่อ 261, 230 หรือ E-Mail : Registrar@catc.or.th
การเปิดรับ
ปฏิทินกำหนดการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรวิชาภาคพื้นสถาบันการบินพลเรือน ประจำปีการศึกษา 2557 (ฉบับแก้ไข)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น