Powered By Blogger

3 มกราคม 2555

 ผ่านมาเกือบครึ่งทางของชีวิตแอดมิชชั่นรุ่น 55 แล้ว แต่ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์ที่เปิดใช้ปีนี้อาจจะยังไม่เข้าหัวใครหลายๆ คน  ทุกวันนี้สิ่งที่ทำได้ คือ เห็นเพื่อนทำอะไรก็ทำตาม ฮ่าๆ จะสับสน หรืองงอะไรก็แล้วแต่ ต้องรีบทำความเข้าใจกันหน่อยแล้วนะคะ จะได้ไม่เสียสิทธิ์ตัวเองนะ อิอิ 
เด็กดีดอทคอม :: ม.6 ใครยังมึนระบบ "เคลียริ่งเฮ้าส์" เข้ามาดู ด่วนๆ !!
           แต่ระบบที่ว่า อธิบายทีสองทีก็อาจจะยังอึ้งกิมกี่กันอยู่  ก็เลยสรุปขั้นตอนในระบบเคลียริ่งเฮ้าส์แบบคร่าวๆ มาให้ดูกัน น่าจะช่วยชีวิตใครไว้ได้หลายๆ คน ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าระบบเคลียริ่งเฮ้าส์เพิ่งเปิดใช้เป็นปีแรก เพื่อแก้ปัญหาเด็กกั๊กที่เรียน เพราะเป็นระบบที่ต้องเลือกเรียนแค่หนึ่งที่เท่านั้น สอบติดเยอะก็ต้องตัดสินใจเลือกว่าจะเอาอันไหน
           ส่วนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมระบบนี้มีทั้งหมด 25 มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว คือ จุฬาฯ, ม.ธรรมศาสตร์, ม.เกษตรฯ, ม.มหิดล, มศว, ม.ขอนแก่น, ม.แม่ฟ้าหลวง, ม.เชียงใหม่, ม.ศิลปากร, ม.เทคโนฯ 3 พระจอม, ม.ทักษิณ, ม.นเรศวร, ม.พะเยา, ม.สงขลาฯ, ม.อุบลฯ, ม.นครพนม, ม.นราธิวาสฯ, ม.สุรนารี, ม.กรุงเทพมหานคร(คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล), วิทยาแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า, ม.ราชภัฏยะลา, ม.ราชภัฏศรีสะเกษ และ ม.ราชภัฏอุตรดิตถ์ ส่วนขั้นตอนมาดูพร้อมๆ กันเลย

เด็กดีดอทคอม :: ม.6 ใครยังมึนระบบ "เคลียริ่งเฮ้าส์" เข้ามาดู ด่วนๆ !!
           พี่มิ้นท์สรุประบบเคลียริ่งเฮ้าส์มาง่ายๆ เป็น 3 ขั้นตอน คือ
            1.น้องๆ สมัครสอบตรงตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ตามใจชอบ สมัครกี่ที่ก็ได้ แต่ต้องเช็คกำหนดการของแต่ละมหาวิทยาลัยเอาเองว่าจะชนกันมั้ย และต้องสมัครสอบ GAT/PAT หรือการสอบอื่นๆ ด้วยในกรณีที่มหาวิทยาลัยนั้นต้องใช้คะแนน GAT/PAT หรือคะแนนอื่นๆ มาใช้เป็นองค์ประกอบ สมัครสอบแล้ว ก็ไปสอบให้ครบทุกที ถ้าติดก็ต้องไปสัมภาษณ์ พูดง่ายๆ ก็คือ ต้องรับผิดชอบตัวเองทั้งหมด และทำตามกำหนดการของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ตามปกติ
           2.มหาวิทยาลัยส่งรายชื่อผู้ที่สัมภาษณ์ผ่าน ให้กับ สอท. แต่ถ้าสอบไม่ผ่านก็ตกรอบไป ไม่มีผลต่อขั้นตอนนี้ ซึ่งการส่งรายชื่อนี้เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยค่ะ เราไม่ต้องทำอะไร
           3.เข้าสู่ระบบเคลียริ่งเฮ้าส์เพื่อยืนยันสิทธิ์หลังจากสอบผ่านสัมภาษณ์แล้ว ถ้าสอบติด 1 ที่ ก็ต้องยืนยันว่าจะเรียนมั้ย หรือ ถ้าติดหลายที่ ก็ต้องยืนยันว่าจะเรียนมั้ย และจะเรียนที่ไหน หลังจากนั้นก็โดนตัดสิทธิ์ในรอบแอดมิชชั่น เพื่อไม่ต้องไปแย่งที่ในสนามใหญ่อีกนั่นเอง ส่วนประโยชน์ของเคลียริ่งเฮ้าส์อยู่ตรงนี้ค่ะ เพราะถ้าติดแล้วไม่มีการยืนยันสิทธิ์ นั่นเท่ากับว่าเค้าปล่อยที่นั่งนี้ให้ลอยไป ดังนั้นที่นั่งของคนนั้นก็จะไปเพิ่มในรอบแอดมิชชั่นแทน เช่น ตอนแรกกำหนดว่ารับตรง 20 ที่  แอดมิชชั่น 20 ที่ แต่ถ้ายืนยันแค่ 15 เท่ากับว่ารอบแอดมิชชั่นก็จะเพิ่มที่นั่งเป็น 25 คน ซึ่งคนที่ไม่ยืนยันสิทธิ์หรือสละสิทธิ์ไป จะไม่โดนตัดสิทธิ์ สามารถกลับมาสอบในรอบแอดมิชชั่นกลางต่อไปได้   
           สำหรับ ณ เวลานี้ น้องๆ ยังเดินทางอยู่ที่ขั้นตอนหมายเลข 1 อยู่ค่ะ เอาให้ใกล้ที่สุดก็คงเป็นการสอบ GAT/PAT ที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้า ทำให้เต็มที่ล่ะ ขอให้น้องๆ ทุกคน ได้ก้าวข้ามผ่านหมายเลข1 ไปสู่หมายเลข 2 นะ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น